วันพฤหัสบดีที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2563

บทที่ 1 ความปลอดภัย

  1. 1 ความปลอดภัยในการทำงานกับสารเคมี

การทำปฏิบัติการเคมีส่วนใหญ่ต้องมีความเกี่ยวข้องกับสารเคมี อุปกรณ์และเครื่องมือต่าง ๆ ซึ่งผู้ทำปฏิบัติการต้องตระหนักถึงความปลอดภัยของตนเอง ผู้อื่นและสิ่งแวดล้อมโดยผู้ทำปฏิบัติการควรทราบเกี่ยวกับประเภทของสารเคมีที่ใช้ ข้อควรปฏิบัติในการทำปฏิบัติการเคมี และการกำจัดสารเคมีที่ใช้แล้วหลังเสร็จสิ้นปฏิบัติการเพื่อให้สามารถท้าปฏิบัติการเคมีได้อย่างปลอดภัย 
11. 1 ประเภทของสารเคมี
สารเคมีมีหลายประเภทแต่ละประเภทมีสมบัติแตกต่างกันสารเคมีจึงจำเป็นต้องมีฉลากที่มีข้อมูลเกี่ยวกับความเป็นอันตรายของสารเคมีเพื่อความปลอดภัยในการจัดเก็บการนำไปใช้และการาจัดโตยฉลากของสารเคมีที่ใช้ในห้องปฏิบัติการควรมีข้อมูลดังนี้
1. ชื่อผลิตภัณฑ์ 
2 รูปสัญลักษณ์แสดงความเป็นอันตรายของสารเคมี 
3. คำเตือนข้อมูลความเป็นอันตรายและข้อควรระวัง 
4. ข้อมูลของบริษัทผู้ผลิตสารเคมี

               บนฉลากบรรจุภัณฑ์มีสัญลักษณ์แสดงความเป็นอันตรายที่สื่อความหมายได้ชัดเจนเพื่อให้ผู้ใช้สังเกตได้ง่ายสัญลักษณ์แสดงความเป็นอันตรายมีหลายระบบในที่นี้จะกล่าวถึง 2 ระบบที่มีการใช้กันอย่างแพร่หลายคือ Globally Harmonized System of Classification and Labeling of Chemicals (GMS) ซึ่งเป็นระบบที่ใช้สากลและ National Fire Protection Association Hazard Identification System (INFPA) เป็นระบบที่ใช้ในสหรัฐอเมริกาซึ่งสัญลักษณ์ทั้งสองระบบนี้สามารถพบเห็นได้ทั่วไปบนบรรจุภัณฑ์สารเคมีในระบบ GIS จะแสดงสัญลักษณ์ในสี่เหลี่ยมกรอบสีแดงพื้นสีขาวลักษณะดังรูป

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สัญลักษณ์ghs


                 สำหรับสัญลักษณ์แสดงความเป็นอันตรายในระบบ NFPA จะใช้สีแทนความเป็นอันตรายในด้านต่าง ๆ ได้แก่ สีแดงแทนความไวไฟสีน้ำเงินแทนความเป็นอันตรายต่อสุขภาพสีเหลืองแทนความว่องไวในการเกิดปฏิกิริยาเคมีโดยใส่ตัวเลข 0 ถึง 4 เพื่อระบุระดับความเป็นอันตรายจากน้อยไปหามากและช่องสีขาวใช้ใส่อักษรหรือสัญลักษณ์ที่แสดงสมบัติที่เป็นอันตรายต้านอื่น ๆ ดังตัวอย่างในรูป 1. 3




1. 1. 2 ข้อควรปฏิบัติในการทำปฏิบัติ
การการท้าปฏิบัติการเคมีให้เกิดความปลอดภัยผู้ทำปฏิบัติการควรทราบเกี่ยวกับการปฏิบัติตนเปทเกตความปลอดภัยนอกจากต้องทราบข้อมูลของสารเคมีที่ใช้แล้วนายวกับการปฏิบัติตนเองต้นทั้มก่อนระหว่างและหลังทำปฏิบัติการดังต่อไปนี้ปฏิบัติการให้เข้าใจวางแผนการทดลองหากมีข้อสงสัยต้อง

ก่อนทำปฏิบัติการ
 1) ศึกษาบันตอนหรือวิธีการทำปฏิบัติการให้เข้าใจวางแผนการทดลอง A สอบถามครูผู้สอนก่อนที่จะทำการทดลอง 
2) ศึกษาข้อมูลของสารเคมีที่ใช้ในการทดลองเทคนิคการใช้เครื่องมือวัสดุอุปกรณ์ตลอดจนวิธีการทดลองที่ถูกต้องและปลอดภัย 
3) แต่งกายให้เหมาะสมเช่นสวมกางเกงหรือกระโปรงยาวสวมรองเท้ามิดชิดส้นเดียคนที่มีผมยาวควรรวบผมให้เรียบร้อยหลีกเลี่ยงการสวมใส่เครื่องประดับและคอนแทคเลนส์

ขณะทำปฏิบัติการ 
1) ข้อปฏิบัติโดยทั่วไป 
1. 1 สวมแว่นตานิรภัยสวมเสื้อคลุมปฏิบัติการที่ติดกระดุมทุกเม็ดควรสวมถุงมือเมื่อต้องใช้สารกัดกร่อนหรือสารที่มีอันตรายควรสวมผ้าปิดปากเมื่อต้องใช้สารเคมีที่มีไอระเหยและทำปฏิบัติการในที่ซึ่งมีอากาศถ่ายเทหรือในตู้ดูดควัน
1.2ห้ามรับประทานอาหารและเครื่องดื่มหรือทำกิจกรรมอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทำปฏิบัตการ
1. 3 ไม่ทำการทดลองในห้องปฏิบัติการตามลำพังเพียงคนเดียวเพราะเมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นจะไม่มีใครทราบและไม่อาจช่วยได้ทันท่วงทีหากเกิดอุบัติเหตุในห้องปฏิบัติการต้องแจ้งให้ครูผู้สอนทราบทันทีทุกครั้ง 
1. 4 ไม่เล่นและไม่รบกวนผู้อื่นในขณะที่ทำปฏิบัติการ 
1. 5 ปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีการอย่างเคร่งครัดไม่ทำการทดลองใด ๆ ที่นอกเหนือจากที่ได้รับมอบหมายและไม่เคลื่อนย้ายสารเคมีเครื่องมือและอุปกรณ์ส่วนกลางที่ต้องใช้ร่วมกันนอกจากได้รับอนุญาตจากตรผู้สอนเท่านั้น 
1. 6 ไม่ปล่อยให้อุปกรณ์ให้ความร้อนเช่นตะเกียงแอลกอฮอล์เตาแผ่นให้ความร้อน (hot plate) ทำงานโดยไม่มีคนดูแลและหลังจากใช้งานเสร็จแล้วให้ตับตะเกียงแอลกอฮอล์หรือปิดเครื่องและถอดปลักไฟออกทันทีแล้วปล่อยไว้ให้เย็นก่อนการจัดเก็บเมื่อใช้เตาแผ่นให้ความร้อนต้องระวังไม่ให้สายไฟพาดบนอุปกรณ์

2) ข้อปฏิบัติในการใช้สารเคมี 
2. 1 อ่านชื่อสารเคมีบนฉลากให้แน่ใจก่อนนำสารเคมีไปใช้ 
2. 2 การเคลื่อนย้ายการแปงและการถ่ายเทสารเคมีต้องทำด้วยความระมัดระวังโดยเฉพาะอย่างยิ่งสารอันตรายและควรใช้อุปกรณ์เช่นข้อนตักสารและปีกเกอร์ที่แห้งและสะอาดการเทของเหลวจากขวดบรรจุสารให้เทด้านตรงข้ามฉลากเพื่อป้องกันความเสียหายของฉลากเนื่องจากการสัมผัสสารเคมี 
2. 3 การทำปฏิกิริยาของสารในหลอดทดลองต้องหันปากหลอดทดลองออกจากตัวเองและผู้อื่นเสมอ 
2. 4 ห้ามซิมหรือสูดดมสารเคมีโดยตรงถ้าจำเป็นต้องทดสอบกลิ่นให้ใช้มือโบกให้ไอของสารเข้าจมูกเพียงเล็กน้อย
 2. 5 การเจือจางกรตห้ามเหนองกรดแต่ให้เทกรดลงน้ำเพื่อให้น้ำปริมาณมากช่วยถ่ายเทความร้อนที่เกิดจากการละลาน 
2. 6 ไม่เทสารเคมีที่เหลือจากการเทหรียตกออกจากขวดสารเคมีแล้วกลับเข้าขวดอย่างเด็ดขาดให้เทใส่ภาชนะทิ้งสารที่จัดเตรียมไว้ 
2. 7 เมื่อสารเคมีหกในปริมาเนเล็กน้อยให้กวาดหรือเข็ดแล้วทิ้งลงในภาชนะสำหรับทิ้งสารที่เตรียมไว้ในห้องปฏิบัติการหากหกในปริมาณมากให้แจ้งครูผู้สอน

หลังทำปฏิบัติการ 
1) ทำความสะอาดอุปกรณ์เครื่องแก้วและวางหรือเก็บในบริเวณที่จัดเตรียมไว้ให้รวมทั้งทำความสะอาดโต๊ะทำปฏิบัติการ 
2) ก่อนออกจากห้องปฏิบัติการให้ถอดอุปกรณ์ป้องกันอันตรายเช่นเสื้อคลุมปฏิบัติการแว่นตานิรภัยถุงมือ

1. 1. 3 การกำจัดสารเคมี
สารเคมีที่ใช้แล้วหรือเหลือใช้จากการทำปฏิบัติการให้เกิดความปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิต
การกำจัดสารเคมีแต่ละประเภทสามารถปฏิบัติได้ดังนี้
1) สารเคมีที่เป็นของเหลวไม่อันตรายที่ละลายน้ำได้และมี pH เป็นกลางบวมสามารถเทลงอ่างน้ำและเปิดน้ำตามมาก ๆ ได้ 
2) สารละลายเข็มขันบางชนิดเช่นกรดไฮโดรคลอริกโซเดียมไฮดรอกไซด์ไม่ควรทิงลงอางนาหรือท่อน้ำทันทีควรเจือจางก่อนเทลงอ่างน้ำถ้ามีปริมาณมากต้องทำให้เป็นกลางก่อน 
3) สารเคมีที่เป็นของแข็งไม่อันตรายปริมาณไม่เกิน 1 กิโลกรัมสามารถใส่ในภาชนะที่ปิดมิดชิดพร้อมทั้งติดฉลากชื่อให้ชัดเจนก่อนทิ้งในที่ซึ่งจัดเตรียมไว้ 
4) สารไวไฟตัวทำละลายที่ไม่ละลายน้ำสารประกอบของโลหะเป็นพิษหรือสารที่ทำปฏิกิริยากับน้ำห้ามทิ้งลงอ่างนๆให้ทิ้งไว้ในภาชนะที่ทางห้องปฏิบัติการจัดเตรียมไว้ให้

วันอาทิตย์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2563

บทที่ 2 อะตอมเเละสมบัติของธาตุ

  บทที่ 2 อะตอมเเละสมบัติของธาตุ

 2.1 เเบบจำลองอะตอม

          อะตอมมีขนาดเล็กมากและมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า แบบจำลองของอะตอมจึงมีวิวัฒนาการดังนี้

           2.1.1 แบบจำลองอะตอมของจอร์น ดอลตัน

 

            ในปี พ.ศ. 2346 (ค.ศ. 1803) จอห์น ดอลตัน (John Dalton) นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษได้เสนอทฤษฎีอะตอมเพื่อใช้อธิบายเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสารก่อนและหลังทำปฏิกิริยา รวมทั้งอัตราส่วนโดยมวลของธาตุที่รวมกันเป็นสารประกอบ ซึ่งสรุปได้ดังนี้

            1) ธาตุประกอบด้วยอนุภาคเล็กๆหลายอนุภาคเรียกอนุภาคเหล่านี้ว่า “อะตอม” ซึ่งแบ่งแยกและทำให้สูญหายไม่ได้

            2) อะตอมของธาตุชนิดเดียวกันมีสมบัติเหมือนกัน แต่จะมีสมบัติ แตกต่างจากอะตอมของธาตุอื่น 

            3) สารประกอบเกิดจากอะตอมของธาตุมากกว่าหนึ่งชนิดทำปฏิกิริยา เคมีกันในอัตราส่วนที่เป็นเลขลงตัวน้อยๆ 

            จอห์น ดอลตัน ชาวอังกฤษ เสนอทฤษฎีอะตอมของดอลตัน 

  •  อะตอมเป็นอนุภาคที่เล็กที่สุด แบ่งแยกอีกไม่ได้
  •  อะตอมของธาตุชนิดเดียวกันมีสมบัติเหมือนกัน
  •  อะตอมต้องเกิดจากสารประกอบเกิดจากอะตอมของธาตุตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปมารวมตัวกัน ทางเคมี

            ทฤษฎีอะตอมของดอลตันใช้อธิบายลักษณะและสมบัติของอะตอมได้เพียงระดับหนึ่ง แต่ต่อมานักวิทยาศาสตร์ค้นพบข้อมูลบางประการที่ไม่สอดคล้องกับทฤษฎีอะตอมของ ดอลตัน เช่น พบว่าอะตอมของธาตุชนิดเดียวกันอาจมีมวลแตกต่างกันได้  

 ลักษณะแบบจำลองอะตอมของดอลตัน



ลักษณะอะตอมเป็นทรงตันขนาดเล็ก ที่สร้างขึ้นใหม่หรือทำลายไม่ได้ เปรียบเสมือนลูกเปตอง

            เเต่เเบบจำลองอะตอมของดอลตันไม่สามารถอธิบายได้ว่า.....
  • ทำไมอะตอมต่างชนิดกัน จึงไม่เหมือนกัน
  • ทำไมอะตอมต่างๆ จึงทำปฏิกิริยากับบางธาตุเท่านั้น
  • อะตอมรวมกันเกิดสารประกอบได้อย่างไร  มีเเรงยึดเหนี่ยวอย่างไร
  • ทำไมอะตอมชนิดเดียวกันจึงมีคุณสมบัติเเตกต่างกัน
          เป็นเหตุให้มีนักวิทยาศาสตร์ศึกษาต่อ
        
    
            

บทที่ 3 พันธะเคมี

บทที่ 3 พันธะเคมี

               พันธะเคมี (Chemical Bonding) คือ แรงยึดเหนี่ยวที่เกิดขึ้นระหว่างอนุภาคมูลฐานหรืออะตอม (Atom) ซึ่งเป็นการดึงดูดเข้าหากัน เพื่อสร้างเสถียรภาพในระดับโมเลกุล จนเกิดเป็นสสารหรือสารประกอบที่มีโครงสร้างขนาดใหญ่และมีความซับซ้อนมากขึ้นในธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นน้ำ อากาศ พื้นดิน ก้อนหิน ต้นไม้ รวมไปถึงเนื้อเยื่อและร่างกายของสิ่งมีชีวิต ซึ่งทุกสสารในจักรวาลล้วนถูกสร้างขึ้นจากการรวมตัวกันของอนุภาคพื้นฐานขนาดเล็กเหล่านี้

               พันธะเคมี เป็นแรงดึงดูดที่เกิดขึ้นจากความไม่เสถียรของอะตอมหรือธาตุต่าง ๆ ในธรรมชาติ ซึ่งกว่า 90 ธาตุที่พบในธรรมชาติ มีเพียงธาตุในหมู่ VIIIA หรือก๊าซเฉื่อย (Inert Gas) เท่านั้นที่สามารถคงอยู่ในรูปของอะตอมอิสระ  จากการมีอิเล็กตรอนวงนอกสุดเต็มตามจำนวนในแต่ละระดับชั้นของพลังงาน หรือ มีเวเลนซ์อิเล็กตรอน (Valence Electron) ครบ 8 ตัว ทำให้โครงสร้างของอะตอมมีความเสถียรในตัวเองสูง

3.1 สัญลักษณ์เเบบจุดของลิวอีสเเละกำออกเตต 

                พัฒนาการของตารางธาตุ  ตลอดจนแนวคิดของการจัดอิเล็กตรอน  ช่วยให้นักเคมีสามารถอธิบายการเกิดโมเลกุลหรือสารประกอบได้อย่างมีเหตุผล  กิลเบิร์ต ลิวอิส (Gilbert Newton Lewis)  เสนอว่า  อะตอมรวมตัวกันเพื่อทำให้เกิดการจัดอิเล็กตรอนที่มีเสถียรภาพเพิ่มขึ้น  โดยเสถียรภาพมีค่ามากที่สุดเมื่ออะตอมมีจำนวนอิเล็กตรอนเท่ากับจำนวนอิเล็กตรอนในธาตุเฉื่อย  เมื่ออะตอมรวมกันเกิดเป็นพันธะเคมี  อิเล็กตรอนระดับนอกหรือที่เรียกว่า เวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่านั้นที่เกี่ยวข้องกับการเกิดพันธะเคมี  นักเคมีใช้สัญลักษณ์แบบจุดของลิวอิส   ในการนับจำนวนเวเลนซ์อิเล็กตรอนระหว่างปฏิกิริยา  และเพื่อให้แน่ใจว่าจำนวนอิเล็กตรอนมีค่าคงที่  สัญลักษณ์แบบจุดของลิวอิส  ประกอบด้วยสัญลักษณ์  ธาตุ  และจุด 1 จุด แทน 1 เวเลนซ์อิเล็กตรอนของอะตอมธาตุนั้น เช่น โลหะในหมู่  I Aซึ่งมีเวเลนซ์ อิเล็กตรอน 1 ตัว  จะมีสัญลักษณ์ ดังนี้

58

ตารางที่ 2  แสดงสัญลักษณ์แบบจุดของลิวอิสของธาตุ


                กฎออกเตต (Octet rule) 
                ลิวอิส  ได้เสนอกฎออกเตต ซึ่งกฎนี้กล่าวว่า อะตอมต่าง ๆ นอกจากไฮโดรเจนมีแนวโน้มจะสร้างพันธะ  เพื่อให้มีอิเล็กตรอนระดับนอกครบแปด  อะตอมจะสร้างพันธะโคเวเลนต์ เมื่อมีอิเล็กตรอนระดับนอกไม่ครบ 8 อิเล็กตรอน  (เรียกว่า ไม่ครบออกเตต)  การใช้อิเล็กตรอนร่วมกันในพันธะโคเวเลนต์  จะทำให้อะตอมมีอิเล็กตรอนครบออกเตตได้  ยกเว้นไฮโดรเจนจะสร้างพันธะเพื่อให้มีการจัดอิเล็กตรอนระดับนอกเหมือนธาตุฮีเลียม  คือ  มี  2  อิเล็กตรอน เช่น
76           กฎออกเตตใช้ได้ดีกับธาตุในคาบที่ 2 ของตารางธาตุ  ซึ่งธาตุเหล่านั้นมีอิเล็กตรอนระดับนอกอยู่ใน  2s  และ 2p ออร์บิทัล  ซึ่งรับอิเล็กตรอนได้ไม่เกิน 8 อิเล็กตรอน
                 ข้อยกเว้นของกฎออกเตต
                1) กรณีโมเลกุลที่อะตอมกลางมีอิเล็กตรอนเกินแปด ธาตุบางธาตุในคาบที่ 3 เช่น ฟอสฟอรัส (P) หรือ กำมะถัน (S) สามารถมีอิเล็กตรอนระดับนอกได้เกิน 8 ตัว (เพราะจำนวนอิเล็กตรอนในระดับพลังงาน  n = 3  มีอิเล็กตรอนได้สูดสุด 18 ตัว)  จึงทำให้ฟอสฟอรัสและกำมะถัน  สามารถสร้างพันธะโคเวเลนต์  โดยใช้อิเล็กตรอนมากกว่า 8 ตัว ได้ เช่น ฟอสฟอรัสเพนตะคลอไรด์  (PCl5)
 77

                   2) กรณีของโมเลกุลที่อะตอมกลางมีอิเล็กตรอนไม่ครบแปดในสารประกอบบางชนิด อะตอมกลางของโมเลกุลที่เสถียรมีอิเล็กตรอนไม่ครบ  8  อิเล็กตรอน  เช่น โบรอนไตรฟลูออไรด์ (BF)
78

บทที่ 3 พันธะเคมี

  

พันธะเคมี

 พันธะเคมี พันธะเคมี (Chemical Bonding) คือ แรงยึดเหนี่ยวที่เกิดขึ้นระหว่างอนุภาคมูลฐานหรืออะตอม (Atom) ซึ่งเป็นการดึงดูดเข้าหากัน เพื่อสร้างเสถียรภาพในระดับโมเลกุล จนเกิดเป็นสสารหรือสารประกอบที่มีโครงสร้างขนาดใหญ่และมีความซับซ้อนมากขึ้นในธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นน้ำ อากาศ พื้นดิน ก้อนหิน ต้นไม้ รวมไปถึงเนื้อเยื่อและร่างกายของสิ่งมีชีวิต ซึ่งทุกสสารในจักรวาลล้วนถูกสร้างขึ้นจากการรวมตัวกันของอนุภาคพื้นฐานขนาดเล็กเหล่อ่านเพิ่มเติม



3.1 สัญลักษณ์เเบบจุดของลิวอิสเเละออกเตต

พัฒนาการของตารางธาตุ  ตลอดจนแนวคิดของการจัดอิเล็กตรอน  ช่วยให้นักเคมีสามารถอธิบายการเกิดโมเลกุลหรือสารประกอบได้อย่างมีเหตุผล  กิลเบิร์ต ลิวอิส (Gilbert Newton Lewis)  เสนอว่า  อะตอมรวมตัวกันเพื่อทำให้เกิดการจัดอิเล็กตรอนที่มีเสถียรภาพเพิ่มขึ้น  โดยเสถียรภาพมีค่ามากที่สุดเมื่ออะตอมมีจำนวนอิเล็กตรอนเท่ากับจำนวนอิเล็กตรอนในธาตุเฉื่อย  เมื่ออะตอมรวมกันเกิดเป็นพันธะเคมี  อิเล็กตรอนระดับนอกหรือที่เรียกว่า เวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่านั้นที่เกี่ยวข้องกับการเกิดพันธะเคมี  นักเคมีใช้สัญลักษณ์แบบจุดของลิวอิส   ในการนับจำนวนเวเลนซ์อิเล็กตรอนระหว่างปฏิกิริยา  และเพื่อให้แน่ใจว่าจำนวนอิเล็กตรอนมีค่าคงที่  สัญลักษณ์แบบจุดของลิวอิส  ประกอบด้วยสัญลักษณ์  ธาตุ  และจุด 1 จุด แทน 1 เวเลนซ์อิเล็กตรอนของอะตอมธาตุนั้น เช่น โลหะในหมู่  I Aซึ่งมีเวเลนซ์ อิเล็กตรอน 1 ตัว  จะมีสัญลักษณ์ ดังนี้

58

ตารางที่ 2  แสดงสัญลักษณ์แบบจุดของลิวอิสของธาตุ

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สัญลักษณ์แบบจุดของลิวอิส


กฎออกเตต (Octet rule)
            ลิวอิส  ได้เสนอกฎออกเตต ซึ่งกฎนี้กล่าวว่า อะตอมต่าง ๆ นอกจากไฮโดรเจนมีแนวโน้มจะสร้างพันธะ  เพื่อให้มีอิเล็กตรอนระดับนอกครบแปด  อะตอมจะสร้างพันธะโคเวเลนต์ เมื่อมีอิเล็กตรอนระดับนอกไม่ครบ 8 อิเล็กตรอน  (เรียกว่า ไม่ครบออกเตต)  การใช้อิเล็กตรอนร่วมกันในพันธะโคเวเลนต์  จะทำให้อะตอมมีอิเล็กตรอนครบออกเตตได้  ยกเว้นไฮโดรเจนจะสร้างพันธะเพื่อให้มีการจัดอิเล็กตรอนระดับนอกเหมือนธาตุฮีเลียม  คือ  มี  2  อิเล็กตรอน เช่น
76กฎออกเตตใช้ได้ดีกับธาตุในคาบที่ 2 ของตารางธาตุ  ซึ่งธาตุเหล่านั้นมีอิเล็กตรอนระดับนอกอยู่ใน  2s  และ 2p ออร์บิทัล  ซึ่งรับอิเล็กตรอนได้ไม่เกิน 8 อิเล็กตรอน
ข้อยกเว้นของกฎออกเตต
  1. กรณีโมเลกุลที่อะตอมกลางมีอิเล็กตรอนเกินแปด ธาตุบางธาตุในคาบที่ 3 เช่น ฟอสฟอรัส (P) หรือ กำมะถัน (S) สามารถมีอิเล็กตรอนระดับนอกได้เกิน 8 ตัว (เพราะจำนวนอิเล็กตรอนในระดับพลังงาน  n = 3  มีอิเล็กตรอนได้สูดสุด 18 ตัว)  จึงทำให้ฟอสฟอรัสและกำมะถัน  สามารถสร้างพันธะโคเวเลนต์  โดยใช้อิเล็กตรอนมากกว่า 8 ตัว ได้ เช่น ฟอสฟอรัสเพนตะคลอไรด์  (PCl5)
 77

    2. กรณีของโมเลกุลที่อะตอมกลางมีอิเล็กตรอนไม่ครบแปดในสารประกอบบางชนิด อะตอมกลางของโมเลกุลที่เสถียรมีอิเล็กตรอนไม่ครบ  8  อิเล็กตรอน  เช่น โบรอนไตรฟลูออไรด์ (BF)

78

                3.2 พันธะไอออนิก      



พันธะไอออนิก (อังกฤษIonic bonding) เป็นพันธะเคมีชนิดหนึ่ง เกิดจากที่อะตอมหรือกลุ่มของอะตอมสร้างพันธะกันโดยที่อะตอมหรือกลุ่มของอะตอมให้อิเล็กตรอนกับอะตอมหรือกลุ่มของอะตอม ทำให้กลายเป็นประจุบวก ในขณะที่อะตอมหรือกลุ่มของอะตอมที่ได้รับอิเล็กตรอนนั้นกลายเป็นประจุลบ เนื่องจากทั้งสองกลุ่มมีประจุตรงกันข้ามกันจะดึงดูดกัน ทำให้เกิดพันธะไอออน โดยทั่วไปพันธะชนิดนี้มักเกิดขึ้นระหว่างโลหะกับอโลหะ โดยอะตอมที่ให้อิเล็กตรอนมักเป็นโลหะ ทำให้โลหะนั้นมีประจุบวก และอะตอมที่รับอิเล็กตรอนมักเป็นอโลหะ จึงมีประจุลบ ไอออนที่มีพันธะไอออนิกจะมีความแข็งแรงมากกว่าพันธะไฮโดรเจน แต่แข็งแรงพอ ๆ กับ อ่านเพิ่มเติม


3.3 พันธะโคเวเลนต์




พันธะโคเวเลนต์ (อังกฤษ: Covalent bond) คือพันธะเคมี ภายในโมเลกุลลักษณะหนึ่ง พันธะโคเวเลนต์เกิดจากอะตอมสองอะตอมใช้เวเลนซ์อิเล็กตรอนหนึ่งคู่หรือมากกว่าร่วมกัน ทำให้เกิดแรงดึงดูดที่รวมอะตอมเป็นโมเลกุลขึ้น อะตอมมักสร้างพันธะโคเวเลนต์เพื่อเติมวงโคจรอิเล็กตรอนรอบนอกสุดให้เต็ม ดังนั้น อะตอมที่สร้างพันธะโคเวเลนต์จึงมักมีเว... อ่านเพิ่มเติม


        3.4 พันธะโลหะ



        3.5 การใช้ประโยชน์ของสารประกอบ ไอออนิก 
สารโคเวเลนต์ เเละโลหะ
สารประกอบไอออนิก  สารโคเวเลนต์ และโลหะ    มีสมบัติบางประการที่ต่างกัน
การใช้ประโยชน์ของสารประกอบไอออนิก สารโคเวเลนต์ และโลหะ
เนื่องจากสารประกอบไอออนิก สารโคเวเลนต์ และโลหะ มีสมบัติเฉพาะตัวบางประการที่แตกต่างกัน เช่น ความสามารถในการนำไฟฟ้า จุดหลอมเหลว จุดเดือด ฯลฯ ดังที่กล่าวก่อนหน้า
ดังนั้น เราจึงสามารถนำสารต่างชนิดเหล่านี้มาใช้ประโยชน์ในด้านที่แตกต่างกันตามความเหมาะสม
เช่น  แอมโมเนียมคลอไรด์ (NH4Cl) และซิงค์คลอไรด์ (ZnCl2) เป็นสารประกอบไอออนิกที่สามารถนำไฟฟ้าได้จากการแตกตัวเป็นไอออนเมื่อละลายน้ำ จึงสามารถนำไปใช้เป็นสารอิเล็กโทรไลต์ในถ่านไฟฉายได้
พอลิไวนิลคลอไรด์ หรือ PVC (C2H3Cl)n เป็นสารโคเวเลนต์ที่ไม่สามารถนำไฟฟ้าได้ จึงนำไปใช้เป็นฉนวนไฟฟ้าที่หุ้มสายไฟฟ้า
ซิลิคอนคาร์ไบด์ (SiC) เป็นสารโคเวเลนต์โครงร่างตาข่ายที่มีจุดหลอมเหลวสูงและมีความแข็งแรงมาก จึงนำไปใช้ทำเครื่องบด เครื่องโม่ และหินลับมีด   
ทองแดง (Cu) และอะลูมิเนียม (Al) เป็นโลหะที่นําไฟฟ้าได้ดีจึงนำไปใช้เป็นตัวนำไฟฟ้า โดยโลหะทองแดงสามารถนำไฟฟ้าได้ดีกว่าโลหะอะลูมิเนียมจึงใช้ในสายไฟฟ้าตามอาคารบ้านเรือน สำหรับโลหะอะลูมิเนียมซึ่งมีลักษณะเบา ถึงแม้จะนำไฟฟ้าได้ไม่ดีเท่าทองแดงแต่ก็เป็นทางเลือกหนึ่งในการนำไปใช้ในกรณีที่ต้องการลดค่าใช้จ่ายและน้ำหนักของวัสดุ
อะลูมิเนียม (Al) และเหล็ก (Fe) เป็นโลหะที่นําความร้อนได้ดีจึงนำไปใช้ทำภาชนะสำหรับการประกอบอาหาร เช่น หม้อ กระทะ

บทที่ 2 อะตอมเเละสมบัติของธาตุ

   บทที่ 2 อะตอมเเละสมบัติของธาตุ   2.1 เเบบจำลองอะตอม               อะตอมมีขนาดเล็กมากและมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า แบบจำลองของอะตอมจึงมีวิวัฒนา...